วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ตลาดคลองสวน ๑๐๐ปี


ตลาดคลองสวน๑๐๐ ปี ตั้งอยู่ริมคลองประเวศน์บุรีรมย์ ในพื้นที่ 2 จังหวัดคือ ตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา และตำบลคลองสวน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ตลาดคลองสวนเป็นตลาดเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 หากย้อนกลับไปในอดีต การเดินทางโดยเรือ จะสะดวกและรวดเร็วที่สุด ถ้าเดินทางจาก ฉะเชิงเทราเข้ากรุงเทพ ฯ จะต้องใช้เรือเมล์ขาวของนายเลิศ ซึ่งมีเพียงลำเดียว รับคนจากประตูน้ำท่าถั่ว ผ่านตลาดคลองสวนก่อนจะแล่นเข้าสู่ประตูน้ำ (วังสระปทุม) กรุงเทพมหานครเมื่ออดีต 


พาดูบรรยากาศเก่า....ตลาดคลองสวน๑๐๐ ปี ในรอบ5ปีของการกลับมาอีกเป็นครั้งที่3...เริ่มยามมาก้าวตลาดฝั่งจังหวัดสมุทรปราการก่อนแล้วกัน...ว่าแล้วเราไปกันเลย






มีแต่ของถูกใจ




สุดทางตลาดคลองสวน๑๐๐ปี...ฝั่งจังหวัดสมุทรปราการกันแล้วนะคะ....ถ้ายังไม่เหนื่อยเราไปกันต่อเลยคะ......พหรมแดนระหว่าง ๑ตลาด ๒จังหวัง



หากท่านผู้อีกเป็นผู้หนึ่งที่ต้องการจะตามหาอดีตที่ผ่านมาแล้วหลายสิบปี “ ตลาดคลองสวน ” มีอายุมากกว่า 100 ปี ที่มีบรรยากาศในอดีตที่อบอวลด้วยมนต์เสน่ห์แห่งการซื้อขายแลกเปลี่ยนที่นักท่องเที่ยวจะสัมผัสได้ทั้งคนท้องถิ่น ที่ยังนิยมมาจับจ่ายใช้สอยเลือกซื้อสินค้าในชีวิตประจำวันหรือจะนั่งชิมอาหารอร่อย ๆ ชมบรรยากาศเก่า ๆ ได้อย่างเต็มอิ่ม 

  
ขนมดอกจอก..ขนมไทยๆๆจ้า

ชิพฟ่อน...คนรุมกันซื้อเลยที่เดี๋ยว(อ้อ..ฝั่งสมุทรปราการมีมาม่อนร้านหลาน หลาน รุมซื้อเช่นกัน)

 



ร้านตัดผมร้านเนี๋ยะ..คิวยาวเหียดเลยขอบอก(ร้านเขาอยู่ริมคลองบรรยากาศดีมากม๊าก)

   ท่านที่สนใจจะชมบรรยากาศดีๆและวิถีชีวิตร่วมสมัยย้อนยุคกว่า ๑๐๐ปี.. ชิมอาหารอร่อยทั้งอาหารคาว  ขนมหวาน  กาแฟสูตรโบราณดั้งเดิมชมของเก่า  สามารถแวะชมได้ที่ตลาดคลองสวน๑๐๐ปี 
 
 
 
 
 
 
 
 


 






วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

เรื่องกล้วย...กล้วย

น่ารู้! ประโยชน์ของกล้วย
วันนี้เรานำอีกหนึ่งความรู้ในเรื่องประโยชน์ของกล้วยมาฝากกันค่ะ.. มาดูกันซิว่าจะกล้วย ๆ สมชื่อกันรึเปล่าน๊า...อิอิอิ เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า ประโยชน์ของกล้วย นั้นมีมากขนาดไหน นำมาทำขนม เช่น กล้วยบวชชี  กล้วยตาก กล้วยเชื่อม ฯลฯ เรียกได้ว่าสาระพัด ประโยชน์ของกล้วยเลยก็ว่าได้ค่ะ และไม่เท่านั้นใบกล้วย ต้นกล้วย ก็ยังนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย แต่วันนี้เราก็จะพูดเรื่องของกล้วย(ผล)ค่ะ แต่เราจะมาบอกเล่าถึง ประโยชน์ของกล้วย ให้คุณๆได้รู้รายละเอียดอย่างอื่นที่เราควรรู้ค่ะเรามาดูประโยชน์ของกล้วยกันเลยดีกว่าค่ะ
     กล้วยอุดมด้วยน้ำตาลธรรมชาติ 3 ชนิด คือ ซูโครส ฟรุคโทส และ กลูโคส รวมกับเส้นใยและกากอาหาร กล้วยจะช่วยเสริมเพิ่มพลังงานให้กับร่างกายทันทีทันใด จากงานวิจัยพบว่ากินกล้วยแค่ 2 ผล ก็สามารถเพิ่มพลังงานให้อย่างเพียงพอ กับการออกกำลังกายอย่างเต็มที่ได้นานถึง 90 นาที
     ประโยชน์ของกล้วยไม่ใช่เพียงแค่เพิ่มพลังงานเท่านั้น ยังช่วยเอาชนะ และป้องกันโรคต่างๆ ที่จะเกิดกับร่างกายได้อีกหลายโรคเลยค่ะ....สำหรับคนที่ระวังเรื่องน้ำตาล กล้วยน้ำว้าคือกล้วยที่ดีที่สุดเพราะมีน้ำตาลน้อยถัดมาคือกล้วยไข่และกล้วยหอม กล้วยทั้งสามชนิดล้วนเป็นผลไม้ที่หาง่ายในบ้านเราราคาก็ไม่แพงจนเกินไป ประโยชน์ของกล้วยมากขนาดนี้หันมาทานกล้วยกันเยอะน๊า...


วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เที่ยวไป... กินไป ..

ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง.... เป็นตลาดน้ำที่อยู่ใกล้กรุงเทพ  มีเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ เริ่มเวลา 7 โมงเช้า
 เป็นต้นไปจนถึงเย็น 
พร้อมแล้ว...เราไปกันเลย
 ชาวบ้านทำมาขายเองมีของพื้นบ้านอร่อย ๆ  ก๋วยเตี๋ยวหมูต้มยำ  หอยทอดในถาดขนมครก 
ปากเป็ดย่าง(ของเด็ดมาก)





นอกจากนี้ก็มีผลไม้จากสวนที่มีอยู่ทั่วไปสองฝั่งคลอง .......
ผลไม้ที่พึ่งจะรู้จักที่ตลาดบางน้ำผึ้ง คือ...ลูกฟักข้าว (เขาทำเป็นแกงส้มมาขาย)
ลูกฟักข้าว
ขนมไทยเขาก้อทำมาขาย ให้เราๆๆเตรียมเงินไปซื้อกันมากมายเลยละ   
 ขนมทองหยอด เม็ดขนุน ฝอยทอง ที่ต้องมาแต่เช้าจึงจะได้ทาน เพราะมาบ่ายจะขายหมด 






 หอยทอดในถาดขนมครก 

ต้องมาสักครั้ง....มาพักผ่อนชมธรรมชาติดีๆๆวิถีชีวิตชุมชนที่สงบร่มรื่น....เป็นการให้รางวัลอย่างหนึ่งกับตัวเอง..รับรองมีความสุขสุดๆๆๆเลย


วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ถนนคนเดินบางแสน



เก็บภาพมาฝาก..เผื่ออยากมาเที่ยวเหมือนกัน
 งานมีทุกวันศุกร์และวันเสาร์ เวลา ประมาณ 14.00ถึงเที่ยงคืน  ...


















 ผ่านมาแถวชลบุรีก็อย่าลืมแวะมาเที่ยวหาด......    บางแสนถนนคนเดินกันดูนะคะ เค้าจัดตลาดอยู่ที่แหลมแท่น ลองมาดูรับรองของเพียบเลย ...
ตลาดนัดยามเย็น ริมทะเล กับบรรยากาศเย็นสบายๆๆให้ท่านได้เดินเลือกซื้อสินค้าอย่างชิวๆ ...







 งานแฮนด์เมด

 ของฝาก(ตัวเอง)



 เหนื่อยนัก..ก้อพักเดี๋ยวหนึ่ง



 อาหารหลากหลาย ...เลือกกันตามสบายเลยจ้า..แล้วแต่ชอบ







 มีเพลงฟัง อาหารครบแล้วอย่าลืม ไปเติมสีสันให้กับชีวิตในวันหยุดกันนะจ๊ะ .. 


ตลาดประมงท่าเรือพลี



ตลาดประมงท่าเรือพลี(ชลบุรี).ถนนเลียบชายทะเลบางแสน 
สายลมเย็นพัดโชยแผ่วเบา.. หอบเอาความชื้นและกลิ่นไอทะเลโชยเข้่าหาฝั่ง..



 บริเวณท่าเทียบเรือปลายซอยท่าเรือพลี 




มีอาหารทะเลสด ๆ ใหม่ ๆ มาวางขายเป็นจำนวนมาก ...

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

ตะลิงปลิง...เปรี้ยวได้ใจ

 ตะลิงปลิง..ปลูกไว้ข้างบ้าน..เปรี้ยวจื๊ดได้ใจ


ต้นตะลิงปลิง..ออกผลดกมาก  ตั้งแต่โคนต้นขึ้นไปข้างบน ดูสวยงามมาก ขอบอก..
หน้าตาเจ้าลูกตะลิงปลิงสดเป็นแบบนี้จ้า..


รสชาดเปรี้ยว..จื๊ด..

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554

พานขันหมาก...วันวิวาห์ (ร้านร้อยคำหวาน)

     พานขันหมาก...วันวิวาห์ (ร้านขนมบ้านคุณย่า เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น..ร้อยคำหวาน 085-095-2997 )
พานขันหมาก




ประเพณีการยกขันหมากสู่ขอนั้นเป็นพิธีมงคลที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการคาราวะผู้ปกครองฝ่ายเจ้าสาว เป็นการบอกกล่าวขออนุญาตที่เจ้าบ่าวจะสู่ขอเจ้าสาวไปเป็นภรรยา












พานขันหมากชาววัง
















 ประวัติที่มาของพานขันหมากนั้นมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย..
สมเด็จพระร่วงเจ้าได้ทรงบัญญัติว่า
ถ้าชาวไทยทำการรับแขกเป็นสนามใหญ่มีการอาวาห์มงคลหรือวิวาห์มงคลแล้ว 
ให้ร้อยกรองดอกไม้เป็นรูปพานขันหมาก และให้เรียกว่า “พานขันหมาก”
พานเชิญขันหมาก






  เมื่อพูดถึงพานขันหมากเรามักจะนึกถึงพานขันหมาก พานเชิญขันหมาก พานสินสอดทองหมั้น พานแหวน 
 พานไห้ว พานขนมมงคล9อย่าง พานผลไม้ และพานต้นกล้วย ต้นอ้อย จำนวนของพานขันหมากที่ใช้สำหรับงานแต่งงานในปัจจุบันจะแปรผันตามรูปแบบการจัดขบวน...
พานสินสอด




ลักษณะเด่นของพานขันหมากชาววังจะอยู่ที่ความละเอียด ประณีต มีการวางลวดลายที่วิจิตรงดงาม มีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์ มีการประดิดประดอยดอกไม้ ซึ่งต้องใช้ความละเอียด และเวลาในการจัดทำสูงกว่าพานขันหมากแบบปกติ

จัดเรียงสินสอดใส่พาน
การจัดขันหมากฝีมือชาววังที่นิยมทำกันนั้นมี 2 แบบ คือ แบบใช้พลูจีบ กับแบบที่ไม่ใช้พลูจีบ ซึ่งทั้ง 2 แบบจะใส่หมากพลูเป็นจำนวนคู่ อย่าง คู่ 4 หรือ คู่ 8 นำมาจัดเรียงให้สวยงาม สาเหตุที่ต้องมีการใส่หมากพลูลงไปในพานขันหมากก็เพราะในสมัยก่อนนิยมกินหมาก จึงมีการใช้หมากพลูเป็นเครื่องต้อนรับเพื่อแสดงไมตรีจิต เวลาแขกมาเยือนก็ยกเชี่ยนหมากมารับรอง ซึ่งหมายถึง ยินดีต้อนรับอย่างเป็นกันเองด้วยไมตรีจิต ด้วยเหตุนี้ เมื่อจะไปสู่ขอหรือแต่งงานกับลูกสาวใคร ซึ่งเป็นคนต่างบ้านต่างถิ่น แม้จะมีของอย่างอื่น แต่ก็ต้องมีหมากพลูไปคำนับเพื่อแสดงไมตรีจิตด้วย
พานเทียนแพ(พานไห้ว)




พานขนมมงค


ดอกไม้ที่ขาดไม่ได้ในพานขันหมากได้แก่ ดอกรัก หมายถึง ให้มีความรักที่เหนียวแน่น ดอกบานไม่รู้โรย หมายถึง ความรักที่ยืนยง ไม่จืดจาง และดอกดาวเรือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองสำหรับคู่บ่าวสาว ส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ต้องมีบนพาน คือ หมากพลู ใบเงิน ใบทอง ใบนาก ข้าวเปลือก งา ถั่วเขียว ถั่งทอง ถุงเงิน ถุงทอง ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความหมาย อย่างข้าวเปลือกให้ไว้เป็นพันธุ์ข้าวสำหรับเป็นทุนเริ่มชีวิตครอบครัว เพราะแต่เดิมชาวไทยทำกสิกรรมปลูกข้าวเป็นหลัก หนุ่มสาวที่แต่งงานใหม่เมื่อต้องมีเหย้ามีเรือนแยกไปจากพ่อแม่ จึงต้องมีการปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผลไม้ ที่เป็นอาหารอันจำเป็นต่อการยังชีพในอนาคต ส่วนขนมมงคลต่าง ๆ อาทิ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ทองเอก หมายถึงการหยิบเงินหยิบทองให้ร่ำรวยในชีวิตคู่ ส่วนขนมจ่ามงกุฎ เป็นการเสริมให้มียศตำแหน่งในหน้าที่การงาน ขนมชั้น หมายถึง ความสามัคคี มั่นคง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคู่บ่าวสาว ขนมเสน่ห์จันทร์ ให้มีความหลงรักซึ่งกันและกันไม่เสื่อมคลาย ขนมกง หมายถึงความรักที่ไม่มีวันสิ้นสุด และขนมลูกชุบ หมายถึงการมีลูกมีหลาน สำหรับพานต้นกล้วย ต้นอ้อย จะเป็นการให้บ่าวสาวนำกล้วยอ้อยดังกล่าวไปปลูกร่วมกัน 
อาจเป็นการทำนายอย่างหนึ่ง ถ้าหากบ่าวสาวปลูกได้เจริญงอกงาม
 ก็จะบ่งบอกถึงความรักที่สมบูรณ์ มีลูกเต็มบ้าน หลานเต็มเมือง
พานขนมมงคล
รูปแบบพานในพิธีมงคลสมรสตามประเพณีไทย
  พานขันหมาก เป็นพานของฝ่ายชายเชิญมาที่บ้านฝ่ายหญิง ซึ่งประกอบไปด้วย หมากพลู ใบเงิน ใบทอง ใบนาก ข้าวเปลือก งา ถั่วเขียว ถั่วทอง ถุงเงิน ถุงทอง ดอกรัก ดอกดาวเรือง และดอกบานไม่รู้โรย
 พานต้นกล้วย-ต้นอ้อย มีไว้สำหรับใส่ต้นกล้วย-ต้นอ้อย ซึ่งสมัยโบราณต้องการให้มีผลไม้ เพื่อสื่อถึงให้คู่บ่าวสาวทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง
 พานเชิญขันหมาก เมื่อขบวนขันหมากมาถึงบ้านฝ่ายหญิง และผ่านประตูเงินประตูทอง ฝ่ายหญิงก็จะลงมาเชิญขันหมากขึ้นเรือน เป็นธรรมเนียมมารยาทที่เชื้อเชิญญาติผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายขึ้นเรือน
 พานแหวน ใช้สำหรับใส่แหวนหมั้นของชายหญิง ในกรณีที่มีการหมั้น-การแต่งงานเกิดขึ้น
 พานขนม พานที่ใส่ขนมมงคล 9 อย่าง เพื่อส่งเสริมชีวิตคู่ให้มีความสุขความเจริญได้ แก่ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุนขนมทองเอก ขนมจ่ามงกุฎ ขนมเสน่ห์จันทร์ ขนมถ้วยฟู  และขนมชั้น
 พานสินสอด เป็นพานสำหรับใส่เงิน ทอง เพชร นาค ไว้ในพานเดียวกัน แต่ถ้ามีฐานะจะแยกพานสินสอดอย่างละพานก็ได้
 พานเทียนแพ มีไว้สำหรับบูชาพระรัตนตรัย และกราบไว้พ่อ-แม่ เป็นการคาราวะขอพรขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงการขอพรจากผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายชาย-หญิง
 พานรดน้ำสังข์ ใช้สำหรับพิธีหมั้นตอนเช้า ซึ่งจะมีการรดน้ำสังข์ เพื่อเป็นศิริมงคลกับชีวิตคู่



เมื่อ พูดถึงพานขันหมาก เรามักจะนึกถึง พานขันหมาก พานเชิญขันหมาก พานสินสอดทองหมั้น พานแหวน  พานไห้ว             พานขนมมงคล9อย่าง พานผลไม้ และพานต้นกล้วย ต้นอ้อย (แล้วแต่ท้องที่ บางที่ก็จะใช้ทั้งต้นโดยไม่ใส่พาน)  จำนวนของพานขันหมากที่ใช้สำหรับงานแต่งงานในปัจจุบันจะแปรผันตามรูปแบบการจัดขบวน...
ลักษณะเด่นของพานขันหมากชาววังจะอยู่ที่ความละเอียด ประณีต มีการวางลวดลายที่วิจิตรงดงาม มีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์ มีการประดิดประดอยดอกไม้ ซึ่งต้องใช้ความละเอียด และเวลาในการจัดทำสูงกว่าพานขันหมากแบบปกติ
มาลัยบ่าว-สาว
การจัดขันหมากฝีมือชาววังที่นิยมทำกันนั้นมี 2 แบบ คือ แบบใช้พลูจีบ กับแบบที่ไม่ใช้พลูจีบ ซึ่ง ทั้ง 2 แบบจะใส่หมากพลูเป็นจำนวนคู่ อย่าง คู่ 4 หรือ คู่ 8 นำมาจัดเรียงให้สวยงาม สาเหตุที่ต้องมีการใส่หมากพลูลงไปในพานขันหมากก็เพราะในสมัยก่อนนิยมกินหมาก จึงมีการใช้หมากพลูเป็นเครื่องต้อนรับเพื่อแสดงไมตรีจิต เวลาแขกมาเยือนก็ยกเชี่ยนหมากมารับรอง ซึ่งหมายถึง ยินดีต้อนรับอย่างเป็นกันเองด้วยไมตรีจิต ด้วยเหตุนี้ เมื่อจะไปสู่ขอหรือแต่งงานกับลูกสาวใคร ซึ่งเป็นคนต่างบ้านต่างถิ่น แม้จะมีของอย่างอื่น แต่ก็ต้องมีหมากพลูไปคำนับเพื่อแสดงไมตรีจิตด้วย

โรยข้าวตรอกดอกไม้(สินสอด)

ดอกไม้ ที่ขาดไม่ได้ในพานขันหมากได้แก่ ดอกรัก หมายถึง ให้มีความรักที่เหนียวแน่น ดอกบานไม่รู้โรย หมายถึง ความรักที่ยืนยง ไม่จืดจาง และดอกดาวเรือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองสำหรับคู่บ่าวสาว ส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ต้องมีบนพาน คือ หมากพลู ใบเงิน ใบทอง ใบนาก ข้าวเปลือก งา ถั่วเขียว ถั่งทอง ถุงเงิน ถุงทอง ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความหมาย อย่างข้าวเปลือกให้ไว้เป็นพันธุ์ข้าวสำหรับเป็นทุนเริ่มชีวิตครอบครัว เพราะแต่เดิมชาวไทยทำกสิกรรมปลูกข้าวเป็นหลัก หนุ่มสาวที่แต่งงานใหม่เมื่อต้องมีเหย้ามีเรือนแยกไปจากพ่อแม่ จึงต้องมีการปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผล ไม้ ที่เป็นอาหารอันจำเป็นต่อการยังชีพในอนาคต ส่วนขนมมงคลต่าง ๆ อาทิ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ทองเอก หมายถึงการหยิบเงินหยิบทองให้ร่ำรวยในชีวิตคู่ ส่วนขนมจ่ามงกุฎ เป็นการเสริมให้มียศตำแหน่งในหน้าที่การงาน ขนมชั้น หมายถึง ความสามัคคี มั่นคง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคู่บ่าวสาว ขนมเสน่ห์จันทร์ ให้มีความหลงรักซึ่งกันและกันไม่เสื่อมคลาย ขนมกง หมายถึงความรักที่ไม่มีวันสิ้นสุด และขนมลูกชุบ หมายถึงการมีลูกมีหลาน สำหรับพานต้นกล้วย ต้นอ้อย จะเป็นการให้บ่าวสาวนำกล้วยอ้อยดังกล่าวไปปลูกร่วมกัน อาจเป็นการทำนายอย่างหนึ่ง ถ้าหากบ่าวสาวปลูกได้เจริญงอกงาม ก็จะบ่งบอกถึงความรักที่สมบูรณ์ มีลูกเต็มบ้าน หลานเต็มเมือง













การจัดพานขันหมากชาววังจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่จะช่วยสร้างความประทับใจในพิธีมงคลสมรสอย่างมิรู้ลืม....